บันทึกอนุทินครั้งที่ 9
วัน อังคารที่ 10 เดือน มีนาคม
พ.ศ. 2558
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
ครูผู้สอน อ.ตฤน แจ่มถิน
ความรู้ที่ได้รับ
การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
2. ทักษะภาษา
- การร้องเพลง บทกลอน นิทาน
คำศัพท์
การวัดความสามารถทางภาษา
-เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
-ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม
-ถามหาสิ่งต่างๆไหม
-บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม
-ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม
การออกเสียงผิด
/ พูดไม่ชัด
-การพูดตกหล่น เช่น การพูดตกคำ
พูดตกประโยค
-การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง
-ติดอ่าง
การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่
-ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด = ฟังให้เหมือนกับเขาเป็นเด็กแกติ
-ห้ามบอกเด็กว่า “พูดช้าๆ” “ตามสบาย” “คิดก่อนพูด”
-อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด = เขาพูดอะไรปล่อยให้เขาพูดให้จบ
-อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก
-ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
-เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน
ทักษะพื้นฐานทางภาษา
-ทักษะการรับรู้ภาษา
-การแสดงออกทางภาษา
-การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด
-เด็กปกติ คือ ฟัง พูด
อ่าน เขียน
พฤติกรรมตอบสนองการแสดงออกทางภาษา
-ตอบสนองของเสียงครูโดยการหันมามอง
-ตอบสนองกับคำพูด
พฤติกรรมเริ่มการแสดงออกของเด็ก
-ทำเสียงต่างๆผสมปนเปกัน
-ทำเสียงคล้ายพูดหรือเรียกร้องความสนใจ
-เล่าได้ว่าเกิดอะไรขึ้น
-ตั้งคำถาม ว่า ทำไม
ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
-การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา
-ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด
-ให้เวลาเด็กได้พูด
-คอยให้เด็กตอบ (ชี้แนะหากจำเป็น)
-เป็นผู้ฟังที่ดีและโตต้อบอย่างฉับไว (ครูไม่พูดมากเกินไป)
-เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว
-ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กพิเศษได้มีแบบอย่างจากเพื่อน
-กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง (ครูไม่คาดการณ์ล่วงหน้า)
-เน้นวิธีการสื่อความหมายมากกว่าการพูด
-ใช้คำถามปลายเปิด
-เด็กพิเศษรับรู้มากเท่าไหร่ ยิ่งพูดได้มากเท่านั้น
-ร่วมกิจกรรมกับเด็ก
การสอนตามเหตุการณ์
(Incidental Teaching)
เด็กยืนสวมผ้ากันเปื้อน
-เด็กก็ยังไม่สนใจ
-เดี๋ยวครูใส่ให้นะ (อาจจะจับมือเด็กสวม)
-ให้เด็กพูดผ้ากันเปื้อนตามครู ต้องย้ำคำว่า “ผ้ากันเปื้อน”
ตัวอย่างเหตุการณ์
-น้องดาวน์กำลังใส่ที่คาดผม
- ถามไม่ตอบ ครูถามว่าหนูทำอะไรอยู่
-หนูใส่ที่คาดผมใช่ไหม (ซ้ำคำว่าที่คาดผม)
-ให้หนูพูดตามครู ที่คาดผม
เขาก็ยังไม่ตอบ
-จับมือใส่ให้เลย (ขั้นตอนสุดท้าย)
ให้พูดซ้ำๆวันหนึ่งเขาจะพูดได้
กิจกรรมบำบัด
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
-ห้องเรียนที่ส่งเสริมภาษา
ห้องนั้นจะต้องมีคำศัพท์เยอะๆที่เป็นตัวหนังสือ มีบทกลอน มีเพลงติดไว้ในห้องเรียน
-ห้ามบอกเด็กว่าให้พูดช้าๆ
ตามสบาย คิดก่อนพูด
-ฟังเด็กเยอะๆแต่อย่าพูดกับเด็กเยอะ
-กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง
ครูไม่ควรคาดการณ์ไว้ล่วงหน้า
-ไม่ควรขัดจังหวะขณะที่เด็กพูด
ปล่อยให้เขาพูดให้จบ
-ครูต้องสัมผัสให้ได้ว่าเด็กได้ยินผิดหรือหูไม่ดี
การประเมินการเรียนการสอน
ประเมินตนเอง
-มาเรียนตรงเวลา
แต่งกายเรียบร้อย จดบันทึกทุกครั้งที่อาจารย์ยกตัวอย่างให้ฟัง เพื่อนำไปเป็นความรู้ในการเรียนการสอน
และการทำข้อสอบ ฟังอาจารย์อธิบายในเนื้อหา
ประเมินเพื่อน
-เพื่อนๆตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายในเนื้อหา
และโต้ตอบกับอาจารย์เมื่ออาจารย์ถามทุกคนต่างมีคำตอบที่หลากหลาย
และสนุกสนานในการเรียน
-เพื่อนๆมาเรียนตรงเวลา
แต่งกายเรียบร้อย
ประเมินครูผู้สอน
-อาจารย์แต่งกายเรียบร้อยมาสอนตรงเวลา
เตรียมความพร้อมในการสอนมาเป็นอย่างดี สอนสนุกมากค่ะ
มีกิจกรรมมาให้ทำตลอด ยกตัวอย่างได้เข้าใจง่าย
เนื้อหาในการเรียนไม่มากเกินไป
ในการเรียนรวมกันเยอะๆทำให้เสียงดังเกินไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น