วันจันทร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10
วัน อังคารที่17เดือน มีนาคม พ.. 2558
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
ครูผู้สอน อ.ตฤน แจ่มถิน
ความรู้ที่ได้รับ

การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
3.ทักษะการช่วยเหลือตนเอง

เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด
การกินอยู่
การเข้าห้องน้ำ
การแต่งตัว
กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน
การสร้างความอิสระ
-เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง
-อยากทำงานตามความสามารถ
-เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตกว่า และผู้ใหญ่
ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ
-การได้ทำด้วยตนเอง
-เชื่อมั่นในตนเอง
-เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี
หัดให้เด็กทำเอง
-ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น (ใจแข็ง)
-ผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างๆให้เด็กมากเกินไป
-ทำให้แม้กระทั่งสิ่งที่เด็กสามารถทำได้เองหากให้เวลาเขาทำ
-“หนูทำช้า” “หนูยังทำไม่ได้
จะช่วยเมื่อไหร่
-เด็กก็มีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร,หงุดหงิด,บื่อ,ไม่ค่อยสบาย
-หลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
-เด็กรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้ แต่ต้องได้รับความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการ
มักช่วยเด็กในช่วงกิจกรรม

ตัวอย่าง ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ2-3ปี)
การแต่งตัว
-ถอดเสื้อออกได้
-เปลี่ยนเสื้อได้
- อาจเลิกทำได้ง่ายๆ
-ต้องการคนช่วยเหลือแต่ก็ร่วมมือดี
การกินอาหาร
-ใช้ช้อนส้อมได้
-แต่ชอบใช้มือและช้อนมากกว่า
- ป้อนอาหารที่ชอบได้เอง
-ดื่มน้ำจากแก้วได้
การอาบน้ำและการเข้าห้องน้ำ
-บอกว่าจะเข้าห้องน้ำได้โดยไม่ทำเลอะก่อน
- กลั้นปัสสาวะ อุจจาระได้
ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง
-แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ
-เรียงลำดับตามขั้นตอน
การเข้าส้วม
-เข้าไปในห้องส้วม
-ดึงกางเกงลงมา
-ก้าวขึ้นไปนั่งบนส้วม
-ปัสสาวะหรืออุจจาระ
-ใช้กระดาษชำระเช็ดก้น
-ทิ้งกระดาษชำระในตะกร้า
-กดชักโครกหรือตักน้ำราด
-ดึงกางเกงขึ้น
-ล้างมือ
-เช็ดมือ
-เดินออกจากห้องส้วม
การวางแผนทีละขั้น
-แยกกิจกรรมเป็นขั้นย่อยๆให้มากที่สุด

สรุป
-ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
-ย่อยงานแต่ละอย่างเป็นขั้นๆ
-ความสำเร็จขั้นเล็กๆนำไปสู่ความสำเร็จทั้งมวล
-ช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตนเอง

-เด็กพึ่งตนเองได้ รู้สึกเป็นอิสระ



กิจกรรมหลังเรียน















ใช้สีเทียนในการวาดวงกลมของตนเอง โดยใช้สีอะไรก็ได้ตามใจชอบของเรา








คุณครูเตรียมต้นไม้ไว้ไห้แล้วให้นักศึกษาเอาวงกลมที่ตัวเองวาดมาติดในต้นไม้ทีละคนจนครบทุกคน ทุกคนช่วยกันวางแผนในการติดวงกลมว่าจะติดตรงไหนให้ออกมาสมดุลกันและสวยงาม







การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
-ส่งเสริมให้เด็กช่วยเหลือตนเองให้ได้มากที่สุดและเด็กจะมีอิสระในการใช่ชีวิตและในการตัดสินใจต่างๆ
-ไม่แสดงความรำคาญเด็ก เมื่อเด็กช่วยเหลือตนเองไม่ได้
-เมื่อเด็กมาขอให้ช่วยเหลือในเรื่องอะไรครูก็ต้องช่วยเหลือเด็กแค่นั้น อย่าช่วยเกินกว่าที่เด็กขอ
-วางแผนการจัดการเรียนสำหรับเด็กพิเศษไว้ล่วงหน้าหากเจอสถานการณ์จริง
-ใช้ในการเขียนแผน IEP ให้กับเด็พิเศษ
-ครูต้องย่อยงานเป็น ย่อยตามลำดับขั้นตอน และย่อยให้ได้เยอะที่สุด
-การย่อยงานทำได้ 2 วิธี คือ
-ย่อยงานจากขั้นแรก เด็กจะเรียนรู้กระบวนการทำงานตามลำดับต่างๆ
-ย่อยงานย้อนจากข้างหลัง เด็กจะเรียนรู้ทีละขั้นจากด้านหลัง และเด็กจะภูมิใจเมื่อทำอไรสำเร็จ
-เมื่อเราเจอเหตุการณ์ของเด็กพิเศษเราต้องแก้ปัญหาให้เป็น

การประเมินการเรียนการสอน
ประเมินตนเอง
เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจฟังครูสอนเป็นอย่างและจดบันทึกทุกครั้งในการเรียนการสอนเพื่อความเข้าใจของตนเองและนำกับมาทบทวนเพื่อเตรียมพร้อมในการสอบ จดบันทึกตัวอย่างที่อาจารย์เล่าให้ฟังเพื่อนำไปใช้ในกาาเรียนการสอนและเมื่อเราเจอกับสถานการณ์จริงเราก็สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง
ประเมินเพื่อน
เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจฟังและจดบันทึกทุกครั้งที่ครูสอนสำหรับกิจกรรมก่อนเรียนวันนี้ เพื่อนๆสนุกสนานเฮฮากันมาก และกิจกกรมหลังเรียน เพื่อนๆตั้งใจกันระบายสีวงกลมของตนเองเป็นอย่างมาก ทุกคนสนุกสนานในกรทำกิจกรรม
ประเมินครูผู้สอน
อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา แต่งกาสุภาพเรียบร้อย พูดจาไพเราะและร้องเพลงเพราะด้วย และยังนำกิจกรรมมาให้นักศึกษาได้ทำกันตลอด เพื่อเป็นการสร้งสีสันในการเรียน ในวันนี้อาจารย์สอนเกี่ยวกับทักษะต่างๆของเด็ก อาจารย์ก็จะยกตัวอย่างมาให้เราฟังเพื่อให้มองเห็นภาพมากขึ้น เข้าใจได้ง่าย และเรียนสนุกทุกครั้ง









วันอาทิตย์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2558


บันทึกอนุทินครั้งที่ 9
วัน อังคารที่ 10 เดือน มีนาคม  พ.ศ. 2558
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
ครูผู้สอน อ.ตฤน แจ่มถิน



ความรู้ที่ได้รับ

การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
      2. ทักษะภาษา
- การร้องเพลง  บทกลอน นิทาน  คำศัพท์ 
การวัดความสามารถทางภาษา
-เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
-ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม
-ถามหาสิ่งต่างๆไหม
-บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม
-ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม
การออกเสียงผิด / พูดไม่ชัด
-การพูดตกหล่น เช่น การพูดตกคำ พูดตกประโยค
-การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง
-ติดอ่าง
การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่
-ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด = ฟังให้เหมือนกับเขาเป็นเด็กแกติ
-ห้ามบอกเด็กว่า  พูดช้าๆ   “ตามสบาย”   “คิดก่อนพูด
-อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด = เขาพูดอะไรปล่อยให้เขาพูดให้จบ
-อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก
-ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
-เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน
ทักษะพื้นฐานทางภาษา
-ทักษะการรับรู้ภาษา
-การแสดงออกทางภาษา
-การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด
-เด็กปกติ คือ ฟัง พูด อ่าน เขียน
พฤติกรรมตอบสนองการแสดงออกทางภาษา
-ตอบสนองของเสียงครูโดยการหันมามอง
-ตอบสนองกับคำพูด
พฤติกรรมเริ่มการแสดงออกของเด็ก
-ทำเสียงต่างๆผสมปนเปกัน
-ทำเสียงคล้ายพูดหรือเรียกร้องความสนใจ
-เล่าได้ว่าเกิดอะไรขึ้น
-ตั้งคำถาม ว่า ทำไม
ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
-การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา
-ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด
-ให้เวลาเด็กได้พูด
-คอยให้เด็กตอบ (ชี้แนะหากจำเป็น)
-เป็นผู้ฟังที่ดีและโตต้อบอย่างฉับไว (ครูไม่พูดมากเกินไป)
-เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว
-ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กพิเศษได้มีแบบอย่างจากเพื่อน
-กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง (ครูไม่คาดการณ์ล่วงหน้า)
-เน้นวิธีการสื่อความหมายมากกว่าการพูด
-ใช้คำถามปลายเปิด
-เด็กพิเศษรับรู้มากเท่าไหร่ ยิ่งพูดได้มากเท่านั้น
-ร่วมกิจกรรมกับเด็ก
การสอนตามเหตุการณ์ (Incidental Teaching)

เด็กยืนสวมผ้ากันเปื้อน

-ครูถามเด็กว่าหนูทำอะไรค่ะ’’
-เด็กก็ยังไม่สนใจ
-เดี๋ยวครูใส่ให้นะ (อาจจะจับมือเด็กสวม)
-ให้เด็กพูดผ้ากันเปื้อนตามครู ต้องย้ำคำว่า ผ้ากันเปื้อน


ตัวอย่างเหตุการณ์
-น้องดาวน์กำลังใส่ที่คาดผม 
- ถามไม่ตอบ ครูถามว่าหนูทำอะไรอยู่  
-หนูใส่ที่คาดผมใช่ไหม (ซ้ำคำว่าที่คาดผม) 
-ให้หนูพูดตามครู ที่คาดผม  เขาก็ยังไม่ตอบ 
-จับมือใส่ให้เลย (ขั้นตอนสุดท้าย)  ให้พูดซ้ำๆวันหนึ่งเขาจะพูดได้


กิจกรรมบำบัด





การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
-ห้องเรียนที่ส่งเสริมภาษา ห้องนั้นจะต้องมีคำศัพท์เยอะๆที่เป็นตัวหนังสือ มีบทกลอน มีเพลงติดไว้ในห้องเรียน
-ห้ามบอกเด็กว่าให้พูดช้าๆ ตามสบาย คิดก่อนพูด
-ฟังเด็กเยอะๆแต่อย่าพูดกับเด็กเยอะ
-กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง ครูไม่ควรคาดการณ์ไว้ล่วงหน้า
-ไม่ควรขัดจังหวะขณะที่เด็กพูด ปล่อยให้เขาพูดให้จบ
-ครูต้องสัมผัสให้ได้ว่าเด็กได้ยินผิดหรือหูไม่ดี
การประเมินการเรียนการสอ
ประเมินตนเอง
-มาเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย จดบันทึกทุกครั้งที่อาจารย์ยกตัวอย่างให้ฟัง เพื่อนำไปเป็นความรู้ในการเรียนการสอน และการทำข้อสอบ ฟังอาจารย์อธิบายในเนื้อหา
 ประเมินเพื่อน
-เพื่อนๆตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายในเนื้อหา และโต้ตอบกับอาจารย์เมื่ออาจารย์ถามทุกคนต่างมีคำตอบที่หลากหลาย และสนุกสนานในการเรียน
-เพื่อนๆมาเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย
 ประเมินครูผู้สอน
-อาจารย์แต่งกายเรียบร้อยมาสอนตรงเวลา เตรียมความพร้อมในการสอนมาเป็นอย่างดี สอนสนุกมากค่ะ
 มีกิจกรรมมาให้ทำตลอด ยกตัวอย่างได้เข้าใจง่าย เนื้อหาในการเรียนไม่มากเกินไป
ในการเรียนรวมกันเยอะๆทำให้เสียงดังเกินไป



                                                      บันทึกอนุทินครั้งที่ 8
วัน อังคารที่ 3 เดือน  มีนาคม พ.ศ. 2558
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

ครูผู้สอน อ.ตฤน แจ่มถิน


ความรู้ที่ได้รับ
     การเรียนการสอนในวันนี้ก่อนเข้าหาสู่เนื้อในการเรียนอาจารย์มีกิจกรรมมาให้ทำก่อนเรียนเป็นความรู้สึกในการไปเล่นเครื่องเล่นต่างๆในสวนสนุก ทุกคนต่างตอบคำถามกันอย่างสนุกสนาน พอตอนสุดท้ายอาจารย์เฉลยคำถามที่ได้ถามไปในข้างต้นทุกคนฮือฮากันใหญ่เลยแต่ก็สนุกสนานมากๆค่ะ

การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
1.ทักษะทางสังคม
-เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคม ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการพ่อแม่
-การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่างๆอย่างมีความสุข
-สภาพแวดล้อมไม่มีผลต่อเด็กมากขึ้นอยู่กับตัวของเด็กเอง เราจะต้องปรับที่ตัวเด็กอย่าปรับสภาพแวดล้อม
 กิจกรรมการเล่น
•  การเล่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม
เด็กจะสนใจกันเองโดยอาศัยการเล่นเป็นสื่อ
ในช่วงแรกๆ เด็กจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อน  แต่เป็นอะไรบางอย่างที่น่าสำรวจ สัมผัส ผลัก ดึง
ยุทธศาสตร์การสอน
เด็กพิเศษหลายๆคนไม่รู้วิธีเล่น  ไม่รู้ว่าจะเล่นอย่างไร
ครูเริ่มต้นจากการสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบ
จะบอกได้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นแบบใดบ้าง
ครูจดบันทึก
ทำแผน IEP
การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง
วางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายๆอย่าง
คำนึงถึงเด็กทุกๆคน
ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ 2-4 คน
     เด็กปกติทำหน้าที่เหมือน ครูให้เด็กพิเศษ
ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น
อยู่ใกล้ๆ และเฝ้ามองอย่างสนใจ
ยิ้มและพยักหน้าให้ ถ้าเด็กหันมาหาครู
ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป
เอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาการเล่น
ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม
  -ครูอย่าหันหลังให้เด็ก ทำให้เด็กรู้สึกว่าครูมองเขาอยู่

 การเล่นทราย




-ให้เด็กเล่นทรายด้วยมือเปล่าก่อน ถ้าเด็กเริ่มเบื่อครูเอาอุปกรณ์ไปให้เพิ่ม เช่น พลั่วพลาสติก
-ให้อุปกรณ์ในจำนวนที่พอเหมาะหรือครึ่งหนึ่งของจำนวนเด็ก
-ค่อยๆเอาของเล่นใส่ลงไปให้เด็กเล่น ถ้าเทลงไปพร้อมกันเด็กจะเล่นแป๊บเดียว
การเล่น
-ต้องรู้จักการรอคอย
-ทำกฎเกณฑ์หรือทำสัญญาณ เช่น ถ้าครูเป่านกหวีดต้องเปลี่ยนให้เพื่อนเล่น
การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
ครูพูดชักชวนให้เด็กร่วมเล่นกับเพื่อน
ทำโดย การพูดนำของครู






-ต้องสร้างความน่าสนใจโดยถือของเล่นเข้าไป
- ขณะที่เด็กเข้าไปเล่น ครูต้องเฝ้ามองดูเด็กก่อน
ช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฎเกณฑ์
ไม่ง่ายสำหรับเด็กพิเศษ
การให้โอกาสเด็ก
เด็กพิเศษต้องเรียนรู้สิทธิต่างๆเหมือนเพื่อนในห้อง

ครูต้องไม่ใช้ความบกพร่องของเด็กพิเศษเป็นเครื่องต่อรอง



เพลง



กิจกรรมบำบัด






การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
-การเล่นในแต่ครูต้องสร้างกฎเกณฑ์ในการเล่น
-เด็กพิเศษจะเลียบแบบพฤติกรรมของเด็กปกติและเด็กปกติจะเป็นคนที่ช่วยเหลือเด็กพิเศษอง
-ขณะทำกิจกรรมครูต้องทำให้เด็กรู้สึกว่าครูมองเขาอยู่
-ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ2-4 คน โดยมีเด็กพิเศษ 1คน ต่อเด็กปกติ 3คน ถ้ามีเด็กพิเศษมากกว่าเด็กปกติทำให้ครูควบคุมเด็กได้ยาก
-การสร้างจุดเด่นให้กับเด็กพิเศษในทางที่ดี จะช่วยให้เด็กได้เล่นกับเพื่อน และเพื่อนๆอยากเล่นกับเขา
- ครูไม่ควรหันหลังให้กับเด็ก
-เมื่อเด็กทำกิจกรรมหรือเรียนอยู่ ครูไม่ควรชมเด็กมากเกินไป
-ครูไม่ควรเอาข้ออ้างของเด็กพิเศษมาเป็นข้อตกลง หรือข้ออ้างกับเด็กปกติ ต้องทำให้เด็กมีความเท่าเทียมกัน

การประเมินการเรียนการสอน
ประเมินตนเอง
-เข้าเรียนตรงต่อเวลา  แต่งกายเรียบร้อย  ตั้งใจทำกิจกรรมก่อนเรียนโดยอาจารย์มีคำถามมาให้เรา แล้วให้เราตอบ ทุกคนต่างตอบกันหลากหลายคำตอบ พออาจารย์เฉลยทุกคนต่างพากันขำใหญ่เลย ก็เป็นสร้างความสนุกสนานก่อนเรียน และความรู้ในวันนี้เป็นสิ่งที่เราต้องเจอเมื่อเราไปเป็นครู เมื่อเราเป็นครูเราจะมีวิธีแก้ปัญหาอย่างไรเมื่อเราเจอกับเด็กพิเศษ ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายและจดในสิ่งที่อาจารย์ยกตัวอย่างให้ฟัง
ประเมินเพื่อน
-เพื่อนมาเรียนกันตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจทำกิจกรรมก่อนเรียนโดยตอบคำถามที่อาจารย์ถาม ทุกคนมีคำตอบที่หลากหลาย ก็เป็นการสร้างความสนุกสนานให้กับทุกคนเป็นอย่างมาก
-เพื่อนๆตั้งใจฟังอาจารย์บรรยาย และจดบันทึกในสิ่งที่สำคัญ
- ประเมินครูผู้สอน
-อาจารย์มาสอนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย สุภาพเป็นแบบอย่างให้แก่นักศึกษาและคอยให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาทุกคน ให้คำแนะนำที่ดี
-อาจารย์มีกิจกรรมมาให้ทำก่อนเรียนอยู่เสมอเพื่อให้นักศึกษาตื่นตัวพร้อมที่จะเรียน
-อาจารย์สอนสนุกมีการยกตัวอย่างให้ฟังตลอดเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กพิเศษ
-วิธีการสอนของอาจารย์ทำให้เรียนเข้าใจง่าย