วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5
วัน อังคารที่ 10 เดือน กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2558
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
ครูผู้สอน อ.ตฤน แจ่มถิน


ความรู้ที่ได้รับ


      การเรียนการสอนในวันนี้เป็นการเรียนเนื้อหาเรื่อง ทักษะของครูและทัศนคติ และก่อนการเรียนอาจารย์มีกิจกรรมมาให้ทำก่อน คือการสเกตภาพมือข้างซ้ายโดยให้สวมถุงมือปิดไว้ แล้ววาดมือให้เหมือนที่สุด และท้ายคาบก็จะมีกิจกรรมการร้องเพลง

                                                                 กิจกรรมสเกตมือ




ทักษะของครูและทัศนคติ
การฝึกเพิ่มเติม                             
- อบรมระยะสั้น , สัมมนา                                                                                         
- สื่อต่างๆ
การเข้าใจภาวะปกติ
 - เด็กมักคล้ายคลึงกันมากกว่าแตกต่าง
- ครูต้องเรียนรู้ , มีปฏิสัมพันธ์กับเด็กปกติและเด็กพิเศษ
- รู้จักเด็กแต่ละคน
- มองเด็กให้เป็นเด็ก คือจะไม่แยกเด็กปกติกับเด็กพิเศษ  
การคัดแยกเด็กที่มีพัฒนาการช้า
   - การเข้าใจพัฒนาการของเด็ก จะช่วยให้ครูสามารถมองเห็นความแตกต่างของเด็กแต่ละคนได้ง่าย
ความพร้อมของเด็ก
- วุฒิภาวะ
- แรงจูงใจ
-โอกาส(เด็กปกติมีโอกาสสูงกว่าเด็กพิเศษ)
การสอนโดยบังเอิญ
คือเด็กจะเป็นฝ่ายเข้ามาถาม หรือถ้าเด็กไม่เข้าหาครูต้องเป็นฝ่ายเข้าไปหาเด็กเพราะเด็กอาจจะต้องการความช่วยเหลือ ครูเองก็ไม่ควรรำคาญเด็ก ต้องให้ความสนใจเด็กอยู่ตลอด ครูต้องสอนต้องทำให้เป็นเรื่องสนุกสนาน
อุปกรณ์
- มีลักษณะง่ายๆ
- ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง
- เด็กพิเศษได้เรียนรู้จากการสังเกตและเลียนแบบเด็กปกติ
- เด็กปกติเรียนรู้ที่จะให้ความช่วยเหลือเด็กพิเศษ
ตารางประจำวัน
ต้องจัดตารางให้เหมือนๆกันทุกวัน ต้องจัดให้ชัดเจน และเด็กสามารถคาดเดาได้ว่าต้องเรียนอะไร
ทัศนคติของครู
   ความยืดหยุ่น
- การแก้แผนการสอนให้เหมาะสมกับสถานการณ์
- ยอมรับขอบเขตความสามารถของเด็ก
- ครูต้องตอบสนองต่อเป้าหมายที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็กแต่ละคน
เทคนิคการให้แรงเสริม
   แรงเสริมทางสังคมจากผู้ใหญ่
- ความสนใจของผู้ใหญ่ที่มีต่อเด็กนั้นสำคัญมาก
- มีแนวโน้มจะเพิ่มพฤติกรรมที่ดีของเด็ก และมักเป็นผลในทันที
- หากผู้ใหญ่ไม่สนใจพฤติกรรมที่ดีนั้นๆก็จะลดลงและหายไป
หลักการให้แรงเสริมในเด็กปฐมวัย
- ครูต้องให้แรงเสริมทันทีที่เด็กมีพฤติกรรมอันพึงประสงค์
- ครูต้องละเว้นความสนใจทันทีและทุกครั้งที่เด็กแสดงพฤติกรรมที่ไม่พึ่งประสงค์
- ครูควรให้ความสนใจเด็กนานเท่าที่เด็กมีพฤติกรรมที่พึ่งประสงค์
ขั้นตอนการให้แรงเสริม
 - สังเกตและกำหนดจุดมุ่งหมาย
- วิเคราะห์งาน กำหนดจุดประสงค์ย่อยๆในงานแต่ละขั้น
- สอนจากง่ายไปยาก                                                                                                   
- ให้แรงเสริมทันทีเมื่อเด็กทำได้ หรือเมื่อเด็กพยายามอย่างเหมาะสม
- ลดการบอกบท เมื่อเด็กเรียนรู้ที่จะก้าวไปขั้นต่อไป
- ให้แรงเสริมเฉพาะพฤติกรรมที่ใกล้เคียงกับเป้าหมายที่สุด
- ทีละขั้น ไม่เร่งรัด “ยิ่งขั้นเล็กเท่าไหร่ ยิ่งดีเท่านั้น
- ไม่ดุหรือตี
การกำหนดเวลา
- จำนวนและความถี่ของแรงเสริมที่ให้กับพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กต้องมีความเหมาะสม
ความต่อเนื่อง
- พฤติกรรมทุกๆอย่างในชีวิตประจำวันต่อเนื่องกันระหว่างพฤติกรรมย่อยๆ หลายๆอย่างรวมกัน
- เช่น การเข้าห้องน้ำ การนอนพักผ่อน การหยิบและเก็บของ การกลับบ้าน
- สอนแบบก้าวไปข้างหน้า หรือย้อนมาจากข้างหลัง
การลดหรือหยุดแรงเสริม
- ครูจะงดแรงเสริมกับเด็กที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม
- ทำอย่างอื่นและไม่สนใจเด็ก
- เอาอุปกรณ์หรือขอเล่นออกไปจากเด็ก
- เอาเด็กออกจากการเล่น
ความคงเส้นคงวา
คือ เมื่อต้นเทอมสอนยังไงปลายเทอมก็ต้องสอนแบบนั้น

                                                               กิจกรรม การร้องเพลง




การนำความรู้ไปประยุกต์ใช
 -ครูจะต้องมีความรู้ความเข้าใจและยอมรับเด็กไม่สนใจเด็กคนใดคนหนึ่งต้องให้ความสนใจเด็กทุกคน
 - เรื่องของทักษะของครูและทัศนคติ เป็นเรื่องที่มีประโยชน์อย่างมาก เพราะในอนาคตเราเป็นครุเราจะได้รู้และนำไปใช้ให้ถูกต้อง
-ครูจะต้องให้แรงเสริมเด็กอย่างถูกวิธี ให้แรงเสริมทันทีเมื่อเด็กทำได้
-ครูสังเกตพฤติกรรมเด็กจะต้องจดบันทึกทันที จดบันทึกตามความจริง
การประเมินการเรียนการสอน

ประเมินตนเอง
  เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย  วันนี้ก่อนเข้าสู่บทเรียนมีกิจกรรมการสเกตมือของตนเอง โดยอาจารย์จะแจกถุงมือให้ แล้วให้สวมถุงมือจากนั้นก็ให้วาดมือของเราลงไปในกระดาษ จากที่ได้วาดภาพมือของตนเองจะเห็นได้ว่ามืออยู่กระเรามานานตั้งแต่เกิดเราจำได้ไหมว่ามือของเรามีลักษณะเป็นอย่างไรบ้างมีรอยเหี่ยวตรงไหน เมื่อวาดเสร็จก็เข้าสู่บทเรียน และตั้งใจฟังอาจารย์อธิบาย
 ประเมินเพื่อน
   เพื่อนๆเข้าเรียนตรงเวลาและตั้งใจเรียน แต่งกายเรียบร้อย ทุกคนตั้งใจทำกิจกรรมสเกตมือกันอย่างจริงจังวาดให้เหมือนที่สุด อาจจะวาดออกมาไม่เหมือนแต่ทุกคนก็ตั้งใจวาด แต่ก็ตั้งใจจดตามที่อาจารย์สอน
ประเมินครูผู้สอน

    อาจารย์เป็นแบบอย่างที่ดี แต่งกายเรียบร้อย มาสอนตรงเวลาเตรียมความพร้อมในการสอนเสมอ อาจารย์คอยแนะนำและมีเทคนิคใหม่ๆมาสอน ในการสอนแต่ละครั้งอาจารย์จะมีท่าทางประกอบและยกตัวอย่างพฤติกรรมของเด็กให้นักศึกษาได้มองเห็นภาพและอธิบายเพื่อให้เข้าใจง่าย 



วันจันทร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4
วัน อังคารที่ 27 เดือน มกราคม พ.ศ. 2558
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
ครูผู้สอน อ.ตฤน แจ่มถิน
ความรู้ที่ได้รับ
บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม
ครูไม่ควรวินิจฉัย
  -การวินิจฉัย หมายถึงการตัดสินใจโดยดูจากอาการหรือสัญญาณบางอย่าง
  - จากอาการที่แสดงออกมานั้นอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดได้
  -ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก
  -กิดผลเสียมากกว่าผลดี
  -ชื่อเปรียบเสมือนตราประทับตัวเด็กตลอดไป
  -เด็กจะกลายเป็นเช่นนั้นจริงๆ
  -ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ
  -พ่อแม่ของเด็กพิเศษ มักทราบดีว่าลูกของเขามีปัญหา
  -พ่อแม่ไม่ต้องการให้ครูมาย้ำในสิ่งที่เขารู้อยู่แล้ว
  -ครูควรพูดในสิ่งที่เป็นความคาดหวังในด้านบวก แต่ต้องไม่ให้เกิดความหวังผิดๆ
  -ครูควรรายงานผู้ปกครองว่าเด็กทำอะไรได้บ้าง เท่ากับเป็นการบอกว่าเด็กทำอะไรไม่ได้
  -ครูช่วยให้ผู้ปกครองมีความหวังและเห็นแนวทางที่จะช่วยให้เด็กพัฒนา
  -ครูทำอะไรบ้าง
 -ให้ข้อแนะนำในการหาบุคลากรที่เหมาะสมในการประเมินผลหรือวินิจฉัย
 -สังเกตเด็กอย่างมีระบบ
-จดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วงๆ
-สังเกตอย่างมีระบบ
-ไม่มีใครสามารถสังเกตอย่างมีระบบได้ดีกว่าครู
-ครูเห็นเด็กในสถานการณ์ต่างๆ ช่วงเวลายาวนานกว่า
-ต่างจากแพทย์ นักจิตวิทยา นักคลินิก มักมุ่งความสนใจอยู่ที่ปัญหา
-การตรวจสอบ
-จะทราบว่าเด็กมีพฤติกรรมอย่างไร
-เป็นแนวทางสำคัญที่ทำให้ครูและพ่อแม่เข้าใจเด็กดีขึ้น
-บอกได้ว่าเรื่องใดบ้างที่เด็กต้องการความช่วยเหลือ

ข้อควรระวังในการปฏิบัติ
    ครูต้องไวต่อความรู้สึกและตัดสินใจล่วงหน้าได้
ประเมินให้น้ำหนักความสำคัญของเรื่องต่างๆได้
พฤติกรรมบางอย่างของเด็กไม่ได้ปรากฏให้เห็นเสมอไป

การบันทึกการสังเกต
   การนับอย่างง่ายๆ
   การบันทึกต่อเนื่อง
  การบันทึกไม่ต่อเนื่อง
 การบันทึกไม่ต่อเนื่อง
  บันทึกลงบัตรเล็กๆ
  เป็นการบันทึกสั้นๆเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กแต่ละคนในช่วงเวลาหนึ่ง
  การเกิดพฤติกรรมบางอย่างมากเกินไป
   ควรเอาใจใส่ถึงระดับความมากน้อยของความบกพร่อง มากกว่าชนิดองความบกพร่อง
พฤติกรรมไม่เหมาะสมที่พบได้ในเด็กทุกคน ไม่ควรจัดเป็นสิ่งผิดปกติ
การตัดสินใจ
  ครูต้องตัดสินใจด้วยความระมัดระวัง
 พฤติกรรมของเด็กที่เกิดขึ้น ไปขัดขวางความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่

เพลง




การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
-ครูไม่ควรวินิจฉัยเด็กว่าเด็กเป็นเด็กพเศษหรือเปล่า
-ครูมองเด็กเป็นภาพรวม เห็นทุกอย่าง ทั้งด้านดี แลไม่ดีและพฤติกกรมที่เด็กแสดงออกมา
-นำความรู้ที่เราได้เรียนมาไปถ่ายทอดให้ความรู้แก่ผู้ปกครองได้
-ครูควรแก้ไขปัญหาเด็กให้ตรงจุดและเป็นปัญหาหลักตามลำดับความสำคัญ

การประเมินการเรียนการสอน
ประเมินตนเอง
เข้าเรียนตรงต่อเวลา  แต่งกายสุภาพเรียบร้อย สนุกสนานในการเรียน วันนี้อาจารย์สอนร้องเพลง และให้ร้องที่ละกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน ร้องให้อาจารย์และเพื่อนฟังและวาดภาพดอกทานตะวันได้สวยมากๆ
ประเมินเพื่อน
เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่กายสุภาพเรียบร้อย ตั้วใจวาดภาพกันทุกคน ผลงานออกมาสวยๆทั้งนั้นทุกคนเรียนอย่างสนุกสนาน
ประเมินครูผู้สอน
เข้าสอนตรงต่อเวลาดีมาเสมอ แต่งกายน่ารักทุกวัน

สอนสนุกและเข้าใจง่าย อยากให้อาจารย์คงการสอนแบบนี้ต่อไปมีเทคนิคการสอนที่แปลกใหม่เสมอ
บันทึกอนุทินครั้งที่ 3
วัน อังคารที่ 20  เดือน มกราคม พ.ศ. 2558
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
ครูผู้สอน อ.ตฤน แจ่มถิน

ความรู้ที่ได้รับ
รูปแบบการจัดการศึกษา
-การศึกษาปกติทั่วไป (Regular Education)
-การศึกษาพิเศษ (Special Education)
-การศึกษาแบบเรียนร่วม  (Integrated Education หรือ Mainstreaming)
-การศึกษาแบบเรียนรวม  (Inclusive Education)
การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
-เด็กที่มีความต้องการพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา
ความหมายของการศึกษาแบบเรียนร่วม (Integrated Education หรือ Mainstreaming)
-การจัดให้เด็กพิเศษเข้าไปในระบบการศึกษาทั่วไป
-มีกิจกรรมที่ให้เด็กพิเศษกับเด็กทั่วไปได้ทำร่วมกัน
-ใช้ช่วงเวลาช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวัน
-ครูปฐมวัยและครูการศึกษาพิเศษร่วมมือกัน

การเรียนร่วมบางเวลา (Integration
-การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติในบางเวลา
-เด็กพิเศษได้มีโอกาสแสดงออก และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กปกติ
-เป็นเด็กพิเศษที่มีความพิการระดับปานกลางถึงระดับมาก จึงไม่อาจเรียนร่วมเต็มเวลาได้
การเรียนร่วมเต็มเวลา (Mainstreaming)
-การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียน
-เด็กพิเศษได้รับการจัดกระบวนการเรียนรู้และบริการนอกห้องเรียนเหมือนเด็กปกติ
-มีเป้าหมายเพื่อให้เด็กเข้าใจซึ่งกันและกัน ตอบสนองความต้องการซึ่งกันและกันและมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
-เด็กปกติจะยอมรับความหลากหลายของมนุษย์ เข้าใจว่าคนเราเกิดมาไม่จำเป็นต้องเหมือนกันทุกอย่าง ท่ามกลางความแตกต่างกัน มนุษย์เราต้องการความรัก ความสนใจ ความเอาใจใส่เช่นเดียวกันทุกคน
ความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education)
-การศึกษาสำหรับทุกคน
-รับเด็กเข้ามาเรียนรวมกันตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษา
-จัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล
-การจัดการเรียนการสอนที่ยึดปรัชญาของการอยู่รวมกัน (Inclusion) เป็นหลัก
-การสอนที่ดี เป็นการสอนที่ครูกับนักเรียนช่วยกันให้ทุกคนเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน
-กิจกรรมทุกชนิดที่จะนำไปสู่การสอนที่ดี (Good Teaching) ต้องคิดอย่างรอบคอบเพื่อหาหนทางให้นักเรียนทุกคนสามารถเรียนได้
-เป็นการกำหนดทางเลือกหลายๆ ทาง

"Inclusive Education is Education for all,
It involves receiving people
at the beginning of their education,
with provision of additional services
needed by each individual"

การศึกษาแบบเรียนรวมเป็นการศึกษาสำหรับทุกคน เริ่มต้นตั้งแต่วัยเด็ก แต่ละคนย่อมมีความต้องการที่แตกต่างกันต้องจัดการศึกษาที่เหมาะสม
สรุปความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม
-เป็นการจัดการศึกษาที่จัดให้เด็กพิเศษเข้ามาเรียนรวมกับเด็กปกติ โดยรับเข้ามาเรียนรวมกัน ตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษาและจัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล
-เด็กพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา
-เกิดจากปรัชญาการศึกษาที่กล่าวไว้ว่า การศึกษาสำหรับทุกคน(Education for All)
-การเรียนรวม เป็นแนวคิดทางการศึกษาอย่างหนึ่งที่โรงเรียนจะต้องจัดการศึกษาให้กับเด็กทุกคนโดยไม่มีการแบ่งแยกว่าเด็กคนใดเป็นเด็กปกติ หรือเด็กคนใดเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
-เด็กเลือกโรงเรียนไม่ใช่โรงเรียนเลือกเด็ก
-เด็กทุกคนที่ผู้ปกครองพาเข้ามาโรงเรียนทางโรงเรียนจะต้องรับเด็กไว้ และจะต้องจัดการศึกษาให้อย่างเหมาะสม และดำเนินการเรียนในลักษณะ รวมกันที่ทุกคนต่างเป็นส่วนหนึ่ง ของสังคม ทุกคนยอมรับซึ่งกันและกัน
-ทุกคนยอมรับว่ามี ผู้พิการ อยู่ในสังคมและเขาเหล่านั้นต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่จะต้องใช้ชีวิตร่วมกันกับคนปกติ โดยไม่มีการแบ่งแยก
ความสำคัญของการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
-ปฐมวัยเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดของการเรียนรู้
-สอนได้
-เป็นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
-ครูปฐมวัยจะต้องคอยให้ความช่วยเหลือเด็กด้วย
-เด็กเรียนร่วมบางเวลามีอาการค่อนข้างหนัก ส่วนมากเรียนในช่วงกิจกรรมศิลปะ เคลื่อนไหวและจังหวะ หรือดนตรีและจังหวะเพราะทำให้เขาเกิดความสนุกสนานในการเรียน
-สามารถจักิจกรรมให้ตรงความต้องการของเด็กแลผู้ปกครอง
-ถ้ามีเด็กพิเศษอยู่ในห้องครูต้องบอกกับเด็กปกติในห้อง เพื่อให้เขาได้ช่วยเหลือเพื่อนและเด็กยอมรับเพื่อน
-ได้รู้ความหมายของเด็กเรียนรวม คือเรียนตั้งแต่เปิดเทอมและเรียนทั้งวันเหมือนกับเด็กปกติ
 การประเมินการเรียนการสอน
ประเมินตนเอง
เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่กายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจเรียนและฟัง
จดบันทึกตามที่อาจารย์ยกตัวอย่าง 
ประเมินเพื่อน
เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย
ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายและตอบโต้เมื่ออาจารย์ถาม
ประเมินครูผู้สอน
มาสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพน่ารัก อาจารย์สอนสนุกและเข้าใจและยกตัวอย่างให้นักศึกษาได้ได้เห็นภาพว่าเด็กพิเศษเราต้องมีวิธีในการจัดการเรียนการสอนอย่างไร และอธิบายถึงความหมายของการศึกษาแบบเรียนร่วมกับการศึกษาแบบเรียนรวมให้นักศึกษาได้เข้าใจความหมายอย่างชัดเจน